นักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จาก Kandji ได้ค้นพบมัลแวร์ใหม่ชื่อว่า Cuckoo ที่มีเป้าหมายไปที่ระบบ Apple macOS ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อการคงอยู่บนโฮสต์ที่ติดมัลแวร์และทำหน้าที่เป็นสปายแวร์ โดย Cuckoo ใช้เป็น Mach-O Binary ซึ่งสามารถรันบน CPU macOS ได้ทั้งแบบ Intel และ ARM
การแพร่กระจายมัลแวร์ยังไม่มีการบ่งชี้ที่แน่นอน แต่สามารถแพร่ผ่านเว็บ dumpmedia[.]com, tunesolo[.]com, fonedog[.]com, tunesfun[.]com และ tunefab[.]com จากการดาวน์โหลดและติดตั้งแอปพลิเคชันเวอร์ชันฟรีและมีค่าใช้จ่ายสำหรับการตัดเพลงจากบริการสตรีมมิ่งและแปลงเป็นรูปแบบ MP3
หลังจากที่แอปถูกรัน จะมีการรัน Bash Shell เพื่อเก็บข้อมูลของเครื่อง และจะไม่มีการรันโค้ดอันตรายต่อหากตรวจสอบว่าเครื่องอยู่ในประเทศ Armenia, Belarus, Kazakhstan, Russia และ Ukraine นอกจากนี้ยังสร้างการคงอยู่ (Persistence) โดยใช้ LaunchAgent และทำการยกระดับสิทธิ์ (Privilege Escalation) โดยใช้ osascript เพื่อหลอกให้ผู้ใช้ป้อนรหัสผ่านหน้าต่างใส่รหัสปลอม
Cuckoo สามารถขโมยข้อมูลจากอุปกรณ์ที่ติดมัลแวร์ รวมถึงข้อมูลฮาร์ดแวร์ กระบวนการที่กำลังทำงานอยู่ แอปที่ติดตั้ง จับภาพหน้าจอ และข้อมูลจาก iCloud Keychain, Apple Notes, เว็บเบราว์เซอร์, กระเป๋าเงินคริปโต และแอปต่างๆ เช่น Discord, FileZilla, Steam และ Telegram
Application ที่เป็นอันตรายแต่ละ Application มี Application Bundle อื่นภายในไดเร็กทอรี Bundle ทั้งหมดยกเว้นที่โฮสต์บน fonedog[.]com ได้รับการลงนามและมี ID นักพัฒนาที่ถูกต้องของ Yian Technology Shenzhen Co., Ltd (VRBJ4VRP) ส่วนเว็บไซต์ fonedog[.]com โฮสต์เครื่องมือการกู้คืน Android ชุดนี้มี ID นักพัฒนาของ FoneDog Technology Limited (CUAU2GTG98)
วิธีป้องกันและบรรเทาผลกระทบควรใช้โซลูชัน Endpoint Detection and Response (EDR) เพื่อตรวจจับและกักกันมัลแวร์ Cuckoo ส่วนข้อมูล Indicators of Compromise (IOCs) สามารถดูจากเว็บของ Kandji ได้เลย
อ้างอิง:
https://thehackernews.com/2024/05/new-cuckoo-persistent-macos-spyware.html
https://blog.kandji.io/malware-cuckoo-infostealer-spyware
แฮกเกอร์ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในโมดูล Facebook ระดับพรีเมียมสำหรับ PrestaShop ที่ชื่อว่า pkfacebook เพื่อปล่อย Card skimmer บนไซต์ E-commerce ที่มีช่องโหว่ และขโมยข้อมูลบัตรเครดิตการชำระเงิน
นักวิจัยจาก Sonatype นามว่า Ax Sharma พบแพ็กเกจอันตรายของ PyPi ที่เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญที่ผ่านมาชื่อว่า 'Cool package' ตั้งชื่อตามสตริงในข้อมูล Metadata ของแพ็กเกจที่กำหนดเป้าหมายผู้ใช้ Windows เมื่อปีที่แล้ว
Google ปล่อยแพตช์แก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัยทั้งหมด 9 ช่องโหว่บนเบราว์เซอร์ Chrome รวมถึงช่องโหว่ Zero-Day ที่มีรายงานว่าถูกใช้ในการโจมตีจริงแล้ว